แค่อันดับ 10 ของโลก แหล่งแร่ลิเทียมในไทย ปริมาณ 6-7 หมื่นตันเท่านั้น
จากผลการสำรวจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) พบว่า ในประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียมในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 14.8 ล้านตัน เกรดลิเทียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว ปริมาณลิเทียมที่จะสามารถผลิตออกมาได้จริง อยู่ที่ประมาณ 6-7 หมื่นตัน
แหล่งแร่ลิเทียมในอำเภอตะกั่วทุ่ง พบอยู่ในรูปของแร่เลพิโดไลต์ (lepidolite) ที่พบในหินเพกมาไทต์ (pegmatite) ซึ่งมีความสมบูรณ์ของลิเทียมสูง เฉลี่ยประมาณ 0.4% สมบูรณ์กว่าแหล่งลิเทียมหลายแห่งทั่วโลก
หากเทียบกับปริมาณสำรองลิเทียมทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 รองจากโบลิเวีย อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา ชิลี ออสเตรเลีย จีน เยอรมนี คองโก แคนาดา
การค้นพบแหล่งแร่ลิเทียมในประเทศไทย ถือว่าเป็นข่าวดี เนื่องจากลิเทียมเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในปัจจุบัน
ปริมาณแหล่งทรัพยากรธาตุลิเทียมทั่วโลกมีประมาณ 98 ล้านตัน ดังนี้ :
– โบลิเวีย 21 ล้านตัน
– อาร์เจนตินา 20 ล้านตัน
– สหรัฐอเมริกา 12 ล้านตัน
– ชิลี 11 ล้านตัน
– ออสเตรเลีย 7.9 ล้านตัน
– จีน 6.8 ล้านตัน
– เยอรมนี 3.2 ล้านตัน
– คองโก 3 ล้านตัน
– แคนาดา 2.9 ล้านตัน
– เม็กซิโก 1.7 ล้านตัน
– สาธารณรัฐเช็ก 1.3 ล้านตัน
– เซอร์เบีย 1.2 ล้านตัน
– รัสเซีย 1 ล้านตัน
– เปรู 880,000 ตัน
– มาลี 840,000 ตัน
– บราซิล 730,000 ตัน
– ซิมบับเว 690,000 ตัน
– สเปน 320,000 ตัน
– โปรตุเกส 270,000 ตัน
– นามิเบีย 230,000 ตัน
– กานา 180,000 ตัน
– ฟินแลนด์ 68,000 ตัน
– ออสเตรีย 60,000 ตัน
– คาซักสถาน 50,000 ตัน
(ข้อมูลจาก https://pubs.usgs.gov/periodi…/mcs2023/mcs2023-lithium.pdf)
Image: https://th.wikipedia.org/wiki/ลิเทียม